วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550

กลับมาทดลองต่อ


หลังจากที่ได้เรื่องความแตกต่างแล้วจึงคิดที่จะทำงานอะไรที่ ทำให้ผู้ชมรู้สึกจำได้ง่าย และสะดุดตา ผมเลยคิดที่จะทำเรื่อง font คือ ลองเอาฟร้อนมาลดทอนรายละเอียด และเพื่อให้ผู้ที่เห็นลองคิดดูว่าจะจำได้หรือเปล่า โดย font ที่ใช้จะเป็น font ไทย เพราะเป็นอะไรที่กลุ่มเป้าหมายคุ้นเคย แต่ผมรู้สึกว่ามันยังไม่ค่อยมีเนื้อหาเท่าไหร่เลยนำเอา form ของfont อังกฤษมาผสม เพื่อที่จะให้เกิด form ที่แปลกใหม่ แต่เมื่อได้คุยกับอาจารย์แล้วก็ทำให้ผมรู้ว่าสิ่งที่ผมทำนั้นกำลังหลงทาง คือผมกำลังคิดออกนอกแนวทางเดิม และงานประเภทที่ผมจะทำนี้ก็ไม่ได้แปลกใหม่อะไร ตอนนี้ผมเลยกลับมา"ตัน"มาก และรู้สึกสับสนกับความคิดของตัวเองมาก และไม่รู้จะทำอะไรต่อนอกจากทดลองต่อไปครับ

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ทดลองเกี่ยวกับเรื่องเวลากับความทรงจำ

เรื่องเวลากับความทรงจำของเรานั้น ผมว่ามีความสัมพันธ์กันโดยตรงเลยครับ จากการสังเกตุการทดลองเรื่องสีที่ผมลองทดลองดู ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการมองเห็น การรับรส กลิ่น หรือแม้แต่เสียง ถ้าเกิดเวลาที่ใช้ในการจดจำยิ่งมาก ก็จะจดจำได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นเวลาเป็นตัวแปลที่ผมต้องควบคุมอย่างเคร่งคัดในการทดลองเรื่องการจดจำเลยครับ และผลการทดลองเรื่องการจดจำเรื่องสีก็สรุปได้คร่าวๆแล้วครับว่า "อาจจะเพราะผมใช้แค่ตัวผมเองเป็นมาตรฐาน" แต่ผมก็คิดว่าคนส่วนมากน่าจะมีความรู้สึกเช่นเดียวกัน คือ สีไม่ได้ช่วยให้เราจดจำได้แม่นกว่ารูปทรง หรือ อะไรก็ตามหรอกครับ แต่การที่เราจะจดจำอะไรบางอย่างได้ดีนั้น ก็เพราะสิ่งนั้นมีลักษณะที่โดดเด่น แตกต่างไปจากสิ่งที่อยู่รอบๆตัวมันเอง ผมขอเรียกว่าบรรยากาศนะครับ ยกตัวอย่างเช่นแถวบ้านผม เค้าพึ่งสร้างถนน ฝุ่นก็จะเยอะมาก ตึกรางบ้านช่องก็จะดูเก่าๆ ประมาณว่าทุกอย่างเป็นสีโทนเย็นไปหมด พอเจออะไรบางอย่างที่เป็นสีฉูดฉาดสิ่งนั้นแหละครับ จะเป็นสิ่งที่จดจำได้ง่าย ในการทดลองเวลาที่ผมสังเกตอะไรที่มีสีฉูดฉาดหรือสีโทนร้อน ผมก็จะจดจำได้ผิดพลาดน้อยกว่าไอ้สิ่งที่มีสีกลืนไปกับบรรยากาศครับ

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ทดลองเกี่ยวกับเรื่องสี

ผมลองทดลองเกี่ยวกับเรื่องความทรงจำ โดยใช้ตัวเองเป็นพื้นฐาน โดยการที่ผมเดินออกมาปากซอยหน้าบ้าน ระยะทางประมาณ500เมตร และผมตั้งใจว่าจะจดจำทุกอย่างที่เป็นสีแดง เดินไปและเดินกลับและพอกลับมาถึงบ้านผมก็จะเขียนสิ่งที่ผมจำได้ และผมก็เดินออกมาอีกรอบ และตรวจสอบดูว่าของที่มีสีแดงทั้งหมดที่ซอยบ้านผมมีจำนวนเท่าไหร่ และผมจำได้เท่าไหร่ และไม่ได้เท่าไหร่  จากที่ผมทดลองสีแดงเสร็จ ผมก็จะลองกับสีอื่น กับสถานที่อื่น แต่ต้องเป็นที่ๆมีลักษณะคล้ายๆกัน  

ที่มาของประเด็น"ความทรงจำ"

สิ่งที่ผมได้จากการศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง photo montage และจากที่ได้ฟังจากกลุ่มของเพื่อนๆ ผมได้ประเด็นอะไรบางอย่าง ไม่รู้ว่าด้วยความโง่ของผมเองด้วยรึเปล่า คือจากที่ผมฟังเรื่อง photo montage สิ่งที่ผมจำได้เกี่ยวกับ photo montage คือเรื่องของการ collage เหตุผลที่ผมจำได้ผมคิดว่าก็คงเพราะผมเคยเรียนและได้เคยทำมาก่อน จึงทำให้ผมจำได้ จึงเกิดประเด็นขึ้นในใจผมตั้งแต่อาทิตย์แรกๆ และประเด็นนี้ผมก็ได้คุยกับอาจารย์ในหัวข้อ ความทรงจำ และยกตัวอย่างเปรียบเทียบเดี่ยวกับเรื่องนี้ว่า"มันก็เหมือนการกินข้าว มื้อแรกที่เรากินข้าวผัดคะน้า เราก็จะรู้จักใบคะน้า แต่พอเราไปกินผัดผักรวมมิตร ผักอย่างอื่นมันก็แปลกใหม่สำหรับเราแล้ว แต่เราก็จะได้รู้จักผักมากขึ้น ผมว่าความทรงจำของเรามันก็คล้ายๆกัน" แต่อาจารย์ก็บอกว่าให้ผมลองกลับไปศึกษา photo montage อย่างละเอียดใหม่อีกครั้ง ผมก็กลับมา แล้วก็นั่งดู นั่งคิดอยู่เป็นอาทิตย์ แต่ก็ยังลืมประเด็นเรื่องความทรงจำไม่ได้ มันวนเวียนอยู่ในหัวตลอด ผมจึงตัดสินใจแล้วว่า เรื่องนี้หล่ะที่ผมสนใจจริงๆครับ